วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

น้ำหมักนายต่อ : ตอนที่ 2 ขออนุญาตใช้พื้นที่บทความนี้บันทึกวันที่หมักครับ



1.น้ำหมักแอปเปิ้ล - 15 กันยายน 2558
2.น้ำหมักแอปเปิ้ลผสมลูกยอ - 15 กันยายน 2558
3.น้ำหมักองุ่น - 15 กันยายน 2558
4.น้ำหมักองุ่นผสมลูกยอ -15 กันยายน 2558


5.น้ำหมักสับปะรด - 19 กันยายน 58


6.น้ำหมักตะลิงปริง - 20 กันยายน 2558



7.น้ำหมักมะยม - 21 กันยายน 2558


8.น้ำหมักตะไคร้ - 22 กันยายน 2558


9.น้ำหมักแก้วมังกรแดง - 25 กันยายน 2558


10.น้ำหมักส้มนาเวล - 25 กันยายน 2558


11.น้ำหมักลำใยโหลใหญ่(สำหรับเตรียมรวมสูตรมหาบำบัด) - 25 กันยายน 2558


12.น้ำหมักลำใยโหลเล็ก(สำหรับบริโภค) - 25 กันยายน 2558


13.น้ำหมักส้มนาเวลผสมแก้วมังกรแดง - 25 กันยายน 2558


14.น้ำหมักลูกยอโหลใหญ่(รุ่นเตรียมรวมสูตรมหาบำบัด) - 26 กันยายน 2558


15.น้ำหมักลูกยอโหลเล็ก(สำหรับบริโภค ใช้น้ำตาลอ้อยโอวทึ้ง) - 26 กันยายน 2558


16.น้ำหมักลูกยอโหลเล็ก(สำหรับบริโภค ใช้น้ำตาลแร่ธรรมชาติ) - 26 กันยายน 2558


17.น้ำหมักบอระเพ็ดโหลใหญ่(เตรียมรวมสูตรมหาบำบัด) - 4 ตุลาคม 2558



18.น้ำหมักบอระเพ็ดโหลเล็ก(เตรียมรวมกลุ่มเสือ) - 4 ตุลาคม 2558



19.น้ำหมักบอระเพ็ดโหลเล็ก(สำหรับบริโภค) - 4 ตุลาคม 2558


20.น้ำหมักรากสามสิบโหลใหญ่ - 5 ตุลาคม 2558



21.น้ำหมักรากสามสิบโหลเล็ก - 5 ตุลาคม 2558



22.น้ำหมักมะนาว - 5 ตุลาคม 2558



23.น้ำหมักมะตูม - 5 ตุลาคม 2558



24.น้ำหมักพุทรา - 5 ตุลาคม 2558



25.มะนาวดองน้ำผึ้ง - 5 ตุลาคม 2558



26.บอระเพ็ดดองน้ำผึ้ง - 5 ตุลาคม 2558


27.น้ำนมหมัก - 9 ตุลาคม 2558


28.น้ำหมักลูกพลับ - 9 ตุลาคม 2558


29.น้ำหมักเสาวรส - 9 ตุลาคม 2558


30.น้ำหมักสมอไทยโหล่ใหญ่(เตรียมรวมสูตรมหาบำบัด) - 16 ตุลาคม 2558



31..น้ำหมักสมอไทยโหลเล็ก(เตรียมรวมกลุ่มเสือ) - 16 ตุลาคม 2558


32.น้ำหมักมะขามป้อมโหลใหญ่(เตรียมรวมสูตรมหาบำบัด) - 16 ตุลาคม 2558


33.น้ำหมักมะขามป้อมโหลเล็ก(เตรียมรวมกลุ่มเสือ) - 16 ตุลาคม 2558


34.มะขามป้อมดองน้ำผึ้ง - 26 ตุลาคม 2558


35.สมอไทยดองน้ำผึ้ง - 26 ตุลาคม 2558


วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

น้ำหมักนายต่อ : ตอนที่1 น้ำหมักแอปเปิ้ล น้ำหมักองุ่น ผสมลูกยอ

หลังจากที่ผมได้ล้างแอปเปิ้ล องุ่น และ ลูกยอ จนสะอาดดีแล้ว

วิธีการ อ่านได้ที่ (http://banpeangtawandham.blogspot.com/2015/09/blog-post_15.html?m=1)



จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนการนำมาหมัก

ขั้นแรก นำมาผ่า ผ่าแม้แต่องุ่น ส่วนตัวคิดว่า การหมักโดยใส่ผลไม้ลงไปทั้งลูก มันจะไม่ค่อยได้ประโยชน์จากผลไม้เต็มที่นัก เวลาทำเองเลย ผ่าทุกอย่าง อย่างน้อยต้องผ่าครึ่ง ผ่าให้ตัดผ่านให้หมดทุกส่วนของผล มีเนื้อผ่าเนื้อ มีเม็ดผ่าเม็ด เปลือก-เนื้อ-เมล็ด ของผ่านคมมีดหมด แล้วเอาใส่ภาชนะมีฝาปิด ใช้ภาชนะแก้ว โอ่งดิน ถังหรือโหลพลาสติกที่ทนทานต่อกรดได้สูง


จากนั้น เติมน้ำหมักเก่าเป็นหัวเชื้อขยาย(ถ้ามี) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องก็ได้ 

นำน้ำสะอาดไม่มีคลอรีนมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลกรวดสีอำพัน อัตราส่วนน้ำตาล ร้อยละ1- 0.5 ต่อปริมาตรน้ำ

ในที่นี้ใข้น้ำสำหรับโหลใหญ่ 3 ลิตร น้ำหนึ่งลิตรมีน้ำหนัก 1 กก. จึงใช้น้ำตาลทรายแดง 300 กรัมหรือ 3 ขีด ผสมกับน้ำสะอาด 3 ลิตร คนจนละลายให้หมด เทใส่ภาชนะสำหรับหมักที่มีผลไม้นอนรออยู่แล้ว โดยเหลือพื้นที่หายใจให้น้ำหมักสักประมาณสองข้อนิ้วชี้ขึ้นไป 



เสร็จแล้วจึงปิดฝา นำภาชนะไปตั้งในที่อับแสง 



ทุกๆสามวันให้เปิดฝา แล้วคน เป็นการเติมอ๊อกซิเจน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ปัจจัยหนึ่ง ที่จะทำให้น้ำหมักเรามีคุณภาพ 

จนเมื่อเริ่มมีวุ้นน้ำหมักเกิดขึ้นบนผิว จึงหยุดคนได้ ทิ้งไว้อีกอาทิตย์นึงก็สามารถนำมาบริโภคได้ 

~อันนี้รูปเพิ่มเติมตอนใส่ผลไม้ลงโหล ดูกันชัดๆอีกที~





ทั้งนี้ก็ขอให้ผู้อ่านทุกท่านสุขภาพดีมีความสุข ได้ลาภอันประเสริฐ คือ การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง เทอญ....











วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

วิธีล้างผักผลไม้ให้สะอาดหมดจด!



การล้างผักผลไม้ของคุณผู้อ่านทำอย่างไรกันบ้างครับ แน่นอนว่าวิธีนั้นมีหลากหลาย แต่การแค่ให้น้ำไหลผ่านผิว หรือเอามือไปลูบๆเฉยๆไม่สะอาดแน่ครับ

วันนี้ผมจะขอเสนอวิธีของผม รับประกันเลยว่าผักหรือผลไม้ที่ผ่านวิธีล้างของผมแล้วจะสะอาดหมดจดเลยทีเดียว

เตรียมล้าง
-ภาชนะที่พอจะให้น้ำท่วมผักผลไม้นั้นได้ 2 ชิ้น
-น้ำ
-เกลือป่นหรือด่างทับทิม
-ผักผลไม้ที่จะล้าง

หลักของมันคือใช้ด่างและน้ำอีกเยอะๆหน่อย

ขั้นแรก การล้างเศษฝุ่นสิ่งสกปรก
เอาผักหรือผลไม้ใส่ภาชนะใบแรก แล้วเติมน้ำลงไปให้ท่วม
เมื่อเติมน้ำแล้วเราจะเจอฝุ่นสองประเภทและมีวิธีจัดการดังนี้
1.ฝุ่นลอย ฝุ่นที่มีน้ำหนักเบาลอยอยู่ตรงผิวน้ำ วิธีจัดการคือใช้การรินออกเหมือนซาวข้าวสาร ค่อยๆรินจนหมด
2.ฝุ่นจม ฝุ่นที่หนักกว่าน้ำและจมอยู่ตรงก้นภาชนะ วิธีจัดการคือ เราต้องหยิบผักหรือผลไม้แยกใส่ภาชนะชิ้นที่สองเอง อารมณ์ประมาณว่า คุณไม่ไป... เราไปเอง...

***ถ้าเป็นผลไม้ในสวนหลังบ้าน ที่ปลูกเอง เก็บเอง กินเอง มั่นใจได้ว่าไม่มีสารเคมีใดๆแล้ว ก็หยุดแค่ขั้นที่หนึ่งก็ได้นะคับ***


ขั้นที่สอง การล้างWAX ยาฆ่าแมลงหรือฟอร์มาลีน

ขั้นนี้เรามีพระเอกมาช่วยคือ เจ้าด่าง ไม่ใช่ชื่อสุนัขนะคับ หมายถึงด่าง ที่หมายถึงด่างจิงๆน่ะ (พอๆ - - ผู้อ่านเค้าเข้าใจน่ะ) และน้ำปริมาณค่อนข้างมาก

วิธีการ-เอาผักผลไม้ที่ผ่านการล้างเศษฝุ่นสิ่งสกปรกในขั้นตอนแรกมาแล้ว ใส่ภาชนะ แล้วเติมเกลือป่นหรือด่างทับทิมลงไปให้ทั่วผักผลไม้แล้วใช้มือคลึงหรือร่อนภาชนะ พยายามให้ผักผลไม้ขัดสีกันเองให้มากที่สุด จนมั่นใจแล้ว เติมน้ำลงไปให้ท่วมผักผลไม้แช่ไว้อย่างน้อย 10 นาที หลังจากนั้น ล้างด้วยน้ำเยอะๆจนสะอาด




ทีนี้จะแอปเปิล จะองุ่น หรืออะไรที่ชึ้นชื่อเรื่องยาฆ่าแมลงหรือสารเคมี ก็กินได้สบายๆหายห่วงกันเลยทีนี้

วันนี้นายต่อก็ล้างผลไม้ไว้สามชนิด ส่วนจะเอาไปทำอะไรนั้น เจอกันบทความหน้านะขอรับ



แอปเปิ้ลกะองุ่น อันนี้ล้างสองขั้นตอน




อันนี้ลูกยอต้นหลังบ้านล้างขั้นตอนเดียว


วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

การเจริญเติบโตของคีเฟอร์ใน 12 วัน

วันนี้เอาคีเฟอร์นมชุดที่เพิ่งสั่งมาถึง เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 เลี้ยงมาถึงวันนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง

27 สิงหาคม 2558

7 กันยายน 2558

เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ปริมาณคีเฟอร์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเศษๆ ในระยะเวลา 12 วัน

เดี๋ยวเรามาดูกันว่าอีก 12 วันข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเหมือนช่วง 12 วันนี้รึป่าว บางคนอาจคิดว่ามันก็ต้องเพิ่มมาเท่านึงเหมือนช่วง 12 วันแรกอยู่แล้วสิ ทำไปเพื่ออะไร

ก็เพื่อเป็นการสังเกตผล การสังเกตผลทำให้เราสามารถหาปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนของคีเฟอร์ เป็นการต่อยอดและพัฒนา คนอย่างนายต่อจะเลี้ยงเฉยๆได้ไง(ได้ข่าวว่าตอนแรกบอกจะเลี้ยงเฉยๆธรรมดาๆนิ่ -..-') แหะๆ >.<

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

ขอส่งกำลังใจให้แก่ผู้ที่กำลังมีความทุกข์และอุปสรรคนาๆประการครับ

สวัสดีครับ
ตลอดทุกเสี้ยววินาทีบนโลกใบนี้ เกิดความทุกข์ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเกิดกับตัวเราหรือผู้อื่น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด สาเหตุเหล่านั้นยังผลให้ไม่ไปสู่ความปรารถนา หรือเรียกอีกอย่างว่า อุปสรรค 
อุปสรรค เป็นสิ่งที่ขวางทางเราให้ไม่ถึงความสำเร็จ แต่ถึงอย่างไร ชีวิตคือชีวิต ชีวิตจะไม่ใช่ชีวิตถ้าไม่มีอุปสรรค ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในภพในโลกนี้ถึงอย่างไรก็ต้องเจอต้องประสบกับมัน และต้องข้ามผ่านมันไปให้ได้ในที่สุด บางชั่วอารมณ์ อาจท้อแท้หรือสิ้นหวัง ย่อมต้องการกำลังใจในการก้าวต่อ ให้ขาที่อ่อนล้าได้มีแรงดำเนินต่อไป กระผมจึงขอยก บทกลอนสุนทรพ่อ ของหลวงพ่อธัมมชโยที่เคยกล่าวให้โอวาสไว้กับลูกๆ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ท้อแท้ครับ


ท่านเคยพูดติดตลกว่า "พวกเรารู้จักท้อไหมจ๊ะ... ท้อ... เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งแค่นั้นเอง..."




วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ข้อมูลเกี่ยวกับบัวหิมะธิเบต(คีเฟอร์) โดยละเอียด



นมบัวหิมะธิเบต  (Kefir grains) คืออะไร ? 
หลาย คนอาจเข้าใจว่าคีเฟอร์เป็นพืชหรือเห็ด แท้จริงแล้ว ภายในเม็ดคีเฟอร์ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ 2 ชนิด ได้แก่ ยีสต์ Saccharomyces exiguus หรือ S. kefir และแบคทีเรียแลคติค (lactic acid bacteria) ที่อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน (symbiosis) และยึดเกาะกันด้วยสารที่มีลักษณะเป็นเมือกเหนียวประเภทพอลีแซคคาไรด์จนเกิด การก่อตัวขึ้นมาเป็นรูปร่างคล้ายดอกกะหล่ำ มีสีขาวจนถึงเหลืองอ่อน ขนาดเท่าผลวอลนัทและเล็กได้จนเท่ากับเมล็ดข้าว คีเฟอร์จะมีกลิ่นอ่อนๆ ของยีสต์หรือกลิ่นคล้ายเบียร์ การหมักแลคโทสโดยแบคทีเรียแลคติคจะทำให้เกิดรสเปรี้ยว (กรดแลคติค) ส่วนการหมักโดยยีสต์จะทำให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแอลกอฮอล์เกิดขึ้นเล็ก น้อย (ประมาณ 1-2%ขึ้นกับระยะเวลาของการบ่มและอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยง)





 ลักษณะของคีเฟอร์ใกล้เคียงกับโยเกิร์ตแต่ คีเฟอร์จะมีกลิ่นที่แรงกว่าเล็กน้อย โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงเม็ดคีเฟอร์ในน้ำนม ซึ่งอาจเป็นนมวัว นมแพะ นมแกะ หรือนมอูฐเพราะมีสารอาหารที่เหมาะสมทำให้เม็ดคีเฟอร์เจริญได้ดี แต่บางครั้งอาจเพาะเลี้ยงในน้ำนมถั่วเหลือง น้ำนมข้าว น้ำกะทิ น้ำผลไม้ หรือน้ำมะพร้าว เม็ดคีเฟอร์ที่เลี้ยงในน้ำผสมน้ำตาลจะเรียกว่า “คีเฟอร์น้ำ (Water kefir)”สำหรับชาวไทยจะคุ้นเคยและรู้จักคีเฟอร์กันดีในชื่อของบัวหิมะธิเบต สามารถเพาะเลี้ยงได้เองตามบ้าน โดยอาจทำในภาชนะแก้วหรือพลาสติก โดยการถ่ายเม็ดคีเฟอร์ที่ได้มาลงในน้ำนม ตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 18-24ชั่วโมง 




จากนั้นนำมากรองแล้วดื่ม มีความเชื่อกันว่าลักษณะของคีเฟอร์ที่สมบูรณ์จะบ่งบอกถึงสุขภาพของผู้เลี้ยง และต้นเชื้อคีเฟอร์จะต้องได้มาจากการแบ่งปันเท่านั้น ห้ามซื้อขาย ทำให้การผลิตและบริโภคคีเฟอร์ในประเทศไทยยังคงไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เพราะอาศัยการแบ่งปันกันเฉพาะในแวดวงของคนที่รู้จักกัน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าห้ามไม่ให้คีเฟอร์สัมผัสโดนภาชนะโลหะ แต่ความจริงคือในระหว่างการหมักจะเกิดกรดซึ่งอาจมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนโลหะ ออกมาปะปนกับน้ำคีเฟอร์ที่เราจะใช้ดื่ม จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายได้





ภาพขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำนมบัวหิมะธิเบต

นมบัวหิมะธิเบต สรรพคุณ

ใน คีเฟอร์อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ทริปโตเฟน (Tryptophan) แคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส มีวิตามิน A, B1, B12, C และวิตามิน K เม็ดคีเฟอร์ประกอบด้วยสารโพลีแซคคาไรด์ที่สามารถละลายน้ำได้ที่มีชื่อว่า kefiran ซึ่งเป็นส่วนที่มีผิวสัมผัสคล้ายวุ้นในปาก kefiran ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการศึกษาพบว่าช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในซีรัมของหนู แบคทีเรียที่สร้าง kefiranได้คือ Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus หรือ L. kefir คีเฟอร์ที่บ่มนานๆ จะทำให้มีรสเปรี้ยวและทำให้ปริมาณกรดโฟลิค (vitamin B9) เพิ่มขึ้น 

รูปนี้แอบน่ากลัวเบาๆมันคือ คีเฟอร์ยอมสรแล้วผ่าครึ่ง เพื่อให้เห็นภายในชัดเจน


ข้อมูลจาก http://yaamata.blogspot.com/2011/10/blog-post_17.html?showComment=1440895348949&m=1